[พระราชประวัติ] [พระราชกรณียกิจ] [กิจกรรมที่ปฏิบัติ] |
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช |
พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาน์ออเบิอร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ (Cambridge) รัฐแมสซาชูเชตต์ (Massachusetts) สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพฯ จนถึง พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในแขนงวิชาวิทยาศาสตร์ |
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต เดิมทีพระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ว่าจะครองราชสมบัติเพียงชั่วระยะเวลาจัดงานพระบรมศพพระบรมเชษฐาให้สมพระเกียรติ เพราะขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา 18 พรรษาเศษ ไม่เคยเตรียมพระองค์เพื่อดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์มาก่อนเลย แต่ด้วยความจงรักภักดีของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ที่มีต่อพระองค์อย่างแน่นแฟ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงเสด็จกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงศึกษาต่อ และทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและรัฐศาสตร์ แทนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม |
เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในวันเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาวิชาการเพิ่มเติม เมื่อกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ.2489 ระหว่างประทับรถพระที่นั่งไปสู่สนามบินดอนเมือง พระองค์ทรงได้ยินราษฎรคนหนึ่งตะโกนลั่นว่า “ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน” พระองค์ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า“ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนได้อย่างไร” หลังจากเหตุการณ์นั้นผ่านไปประมาณ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพบชายผู้ตะโกนทูลพระองค์ในครั้งนั้น เมื่อคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด ชายผู้นั้นกราบบังคมทูลว่า ที่เขาร้องเช่นนั้น เพราะรู้สึกว่าเหว่และใจหายที่พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไปจากเมืองไทย เขาเห็นพระพักตร์เศร้ามาก จึงร้องไปเหมือนคนบ้า พระเจ้าอยู่หัวทรงตอบว่า “นั้นแหละ ทำให้เรานึกถึงหน้าที่ จึงต้องกลับมา” |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และพระองค์ได้พิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่หัวใจของชาวไทยทุกดวงแล้วว่า พระองค์ได้ทรงอุทิศทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ และกำลังความคิดในการประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ เพื่อความผาสุกของพสกนิกรของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งเสริมอาชีพ การเกษตร การอุตสาหกรรม การศึกษา การสาธารณสุข และการต่างประเทศ ฯลฯ |
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้เสด็จออกไปเยี่ยมเยียนราษฎรในถิ่นทุรกันดารเพื่อความรับทราบความ เดือดร้อนและปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ในคราวที่เกิดสาธารณภัยต่าง ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ น้ำท่วม ลมพายุพัดบ้านเรือนราษฎรให้ได้รับความเสียหาย พระองค์จะทรงห่วงใยและอาทรในความเดือนร้อนของพวกเขาเหล่านั้น ทรงรับสั่งให้มีการช่วยเหลือและพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นการ ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน |
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ทำให้เหล่าพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า มอบความจงรักภักดีต่อพระองค์ด้วยการทูลไว้เหนือเกล้า เมื่อถึงวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ทางราชการและภาคเอกชนได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลอง และประกอบสาธารณกุศลต่าง ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล อีกทั้งยังถือเอาวันที่ ๕ ธันวามคม ของทุกปี เป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกด้วย |
ในวันนี้ จะมีการประดับไฟตามสถานที่ราชการและอาคารบ้านเรือนราษฎรทั่วไป ในกรุงเทพฯ ประชาชนจะพร้อมใจกันมาชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ส่วนในต่างจังหวัดก็จัดให้มีการชุมนุมในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อร่วมจุดเทียนชัย และร้องเพลงสดุดีมหาราชากระหึ่มพร้อมกันทั่วประเทศโดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ทุกช่อง |
พระราชกรณียกิจ
|
แหล่งอ้างอิง: http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Datebook/5%20December/King_birthday.html
|
|
ด้านการพัฒนาชนบท จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎร ในถิ่นทุรกันดารทำให้ทรงทราบถึงความเดือดร้อนในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำ เป็นต้น โดยเฉพาะการคมนาคมที่ไม่สะดวกทำให้ไม่สามารถนำความเจริญต่าง ๆ เข้าไปถึงได้ จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาช่วยเหลือให้ประชาชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทรงเน้นการพัฒนาอย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งจะต้องสร้างพื้นฐานให้มั่นคงก่อน และประการสำคัญจะต้องสามารถพึ่งพาตนเองได้ ต่อมาจึงพัฒนาสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามลำดับ วิธีการดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลานานและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตัวอย่างความสำเร็จในแนวพระราชดำรินี้ ดังจะเห็นได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ เป็นต้น นักวิชาการทั้งหลายต่างก็ยอมรับกันว่าแนวทางการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำรินี้ จะเป็นการพัฒนาประเทศแบบกระจายความเจริญไปสู่ประชาชนผู้ยากไร้ในชนบท ตลอดจนเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้แก่ประเทศชาติเป็นอย่างดี ทรงก่อตั้งศูนย์พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดย มุ่งเน้นเพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้มีความเจริญมากขึ้น ศูนย์พัฒนาอันเนื่องมากจากพระราชดำริมีทั้งหมด 6 ศูนย์ ได้แก่ |
|
ด้านสาธารณสุข การเสด็จเยี่ยมประชาชนในถิ่นทุรกันดารบ่อยครั้ง ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพบเห็นประชาชนที่เจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก จึงทรงก่อตั้งโครงการหน่วยแพทย์พระราชทานขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยแก้ไขด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลและยากจน ขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง การที่มีคณะแพทย์พระราชทานออกไปบำบัดรักษาผุ้ป่วยทำให้ราษฎรได้มีโอกาสได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลแต่อย่างใด รวมถึงโครงการอบรมหลักสูตร หมอหมู่บ้าน โดยเริ่มต้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรกนอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลประจำจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ เช่น โรงพยาบาลนราธิวาสโรงพยาบาลสกลนคร และโรงพยาบาลค่ายกาวิละจัดเป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรที่เข้ารับการอบรมแล้วนำความรู้กลับไปช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง การอบรมจะเน้นเรื่องการสาธารณสุข เช่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเวชศาสตร์ป้องกันโรคอย่างง่าย การติดต่อกับเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลของรัฐบาลเป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงให้จัดชุดหน่วยแพทย์พระราชทานขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลประจำจังหวัดต่าง ๆ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เป็นต้น |
ด้านการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการเกษตรมาตั้งแต่ขึ้นครองราชสมบัติ ด้วยทรงเห็นว่า ราษฎรส่วนใหญ่ในประเทศประกอบอาชีพหลัก คือ การเกษตรเป็นสำคัญ โดยมีพระราชดำริให้เกษตรกรพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตให้ดีขึ้น ทรงได้ค้นคว้าทดลองสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตร เช่น วิจัยพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ใหม่ ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชปรับปรุงดิน และพืชสมุนไพร ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช โครงการด้านการเกษตรที่ทรงตั้งขึ้น มีดังต่อไปนี้ |
|
ด้านการชลประทานและพัฒนาแหล่งน้ำ เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการทำเกษตรกรรม หากเกิดความขาดแคลนหรือมีมากจนท่วมไร่นา ก็จะทำให้พืชผลได้รับความเสียหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงเริ่มโครงการชลประทานตามพระราชดำริขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือจากกรมชลประทานและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาหาข้อมูลเพื่อพิจารณาจัดสร้างเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ ตลอดจนคลองระบายน้ำและคลองส่งน้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งนี้พระองค์จะเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรต้นน้ำลำธารจริง ๆ และตรวจสอบกับชาวบ้านเพื่อความถูกต้องของข้อมูลด้วยพระองค์เอง ก่อนจะทรงกำหนดแนวทางในการแก้ไขให้กรมชลประทานและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป |
ด้านการทหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในฐานะที่ทรงเป็นจอมทัพไทย ทรงตระหนักถึงความสำคัญของผู้ที่ทำหน้าปกป้องบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง เมื่อครั้งที่ประเทศไทยยังประสบกับภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์และขบวนการโจรก่อการร้ายต่าง ๆ ในช่วงราวปีพุทธศักราช 2515 – 2520 ได้ทรงเสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนทหาร ตำรวจ ตลอดจนอาสาสมัครที่ปฏิบัติราชการอยู่ตามแนวชายแดนเป็นประจำ พร้อมทั้งพระราชทานสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีพและเวชภัณฑ์ให้กับบรรดาทหารหาญเหล่านั้นด้วย และเมื่อทหารเหล่านั้นได้รับบาดเจ็บ เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็จะเสด็จฯ เยี่ยมด้วยพระองค์เอง สำหรับทหารที่พิการทุพพลภาพอันเนื่องมาจากการสู้รบป้องกันชาติก็โปรดฯ ให้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพและฝึกฝนด้านงานอาชีพ เพื่อสามารถหาเลี้ยงชีพช่วยเหลือตนเองได้ต่อไป ในกรณีที่ทหารเสียชีวิตในการทำงานเพื่อชาติ จะทรงพระกรุณาฯ พระราชทานทรัพย์อุปการะครอบครัวและช่วยการศึกษาบุตรของเขาเหล่านั้น กับจะทรงเสด็จฯไปร่วมในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพแก่บรรดาผู้กล้าเหล่านั้นด้วยพระองค์ทุกครั้ง |
ด้านการปกครอง เนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยจะทรงบริหารปกครองประเทศผ่านทางรัฐสภาจึงทรงถือเป็นพระราชภารกิจสำคัญในการที่จะเสด็จฯ ไปทรงเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วยพระองค์เองทุกครั้งตลอดมา |
ด้านการศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงดูแลอุปภัมภ์ศาสนาทุกศาสนาที่มีอยู่ในเมืองไทย และในฐานะที่ทรงเป็นพุทธมามกะ พระองค์ก็ทรงออกผนวช เช่นเดียวกันกับผู้ชายชาวพุทธส่วนใหญ่ โดยทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งในขณะที่ทรงผนวชก็ทรงปฏิบัติพระองค์ตามกฏระเบียบของสงฆ์อย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับพระภิกษุรูปอื่น ๆ พระองค์ยังได้เสด็จฯ ไปทรงประกอบศาสนกิจอยู่เป็นนิตย์เสมอมา ไม่ว่าจะเป็นการเสด็จฯ ไปบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในโอกาสต่าง ๆ หรือเสด็จฯ ไปตามคำกราบบังคมทูลของคณะกรรมการวัดและของกรมศาสนา รวมทั้งยังทรงพระราช0ทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อการปฏิสังขรณ์วัดที่ชำรุดทรุดโทรมต่าง ๆ อีกด้วย สำหรับศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามนั้น เมื่อมีการกราบบังคมทูลเชิญเสด็จไปในงานพิธีสำคัญ ๆ ของศาสนานั้น ๆ ก็จะเสด็จฯ ไปทรงร่วมในพิธีด้วยเสมอเช่นกัน |
ด้านประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จะทรงถือปฏิบัติตามแบบแผนโบราณราชประเพณีดั้งเดิมทุกประการในการพระราชพิธีต่าง ๆ อาทิเช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทั้งนี้เพื่อดำรงไว้ซึ่งประเพณีของไทยให้คงอยู่สืบเนื่องตลอดไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่าทรงเป็นอัครศิลปินแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ด้วยพระองค์ทรงเป็นเอตะทัคคะในศิลปะหลายสาขา ได้ทรงสร้างสรรค์งานศิลปะประเภทต่าง ๆ ทั้งทางด้าน ดุริยางคศิลป์ ด้านทัศนศิลป์ และด้านวรรณศิลป์ ให้ประจักษ์แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติอย่างมากมาย นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์พระบรมราชูปถัมภกแก่ศิลปะทุกแขนง เช่นทรงรับสมาคมที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์หลายสมาคม กับทรงอุปถัมภ์ศิลปินโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกย่องเชิดชูเกียรติคุณของศิลปินอาวุโสที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมกับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในคราวเจ็บป่วยตามสมควร |
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ หลังจากที่ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ในช่วงปีพุทธศักราช 2502 ถึง 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้เสด็จฯ เยือนประเทศต่าง ๆ ทั้งในแถบยุโรป อเมริกาเหนือและเอเซียเพื่อเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ทรงนำความปราถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศนั้น ๆ ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น และถึงแม้ว่าหลังจากปีพุทธศักราช 2510 เป็นต้นมา พระองค์จะมิได้เสด็จต่างประเทศอีก (ยกเว้นเมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2517 นี้ได้ทรงเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลังจากที่เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานร่วมในการเปิดสะพานเชื่อมระหว่างประเทศมิตรภาพไทย – ลาวแล้ว) เพราะทรงมีพระราชภารกิจในประเทศมากมาย แต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสและพระราชธิดาเสด็จฯ ไปเยือนต่างประเทศแทนเพื่อทรงนำวิทยาการและสิ่งที่ได้ไปทรงพบเห็นกลับมาใช้พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป นอกเหนือจากนั้นยังทรงเสด็จฯ ออกให้การต้อนรับพระราชอาคันตุกะที่เป็นประมุขของประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จหรือเดินทางมาเยือนรวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้บรรดาทูตานุทูตเข้าเฝ้าอยู่ตลอดเสมอมา |
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
|
ทศพิธราชธรรม |
ทศพิธราชธรรม หรือราชธรรม 10 เป็นธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือคุณสมบัติของนักปกครองแผ่นดินโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน มีด้วยกัน 10 ประการคือ
|
สังคหวัตถุ 4 ประการ |
คือ คุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจผู้อื่นไว้ได้ ได้แก่
|